นายอำเภอสันทราย เปิดโครงการ "แม่แฝกใหม่โมเดล" พร้อมมอบป้ายแม่แฝกใหม่โมเดล นำร่องชุมชนต้นแบบลดปัญหาหมอกควันไฟป่า

นายอำเภอสันทราย เปิดโครงการ “แม่แฝกใหม่โมเดล” พร้อมมอบป้ายแม่แฝกใหม่โมเดล นำร่องชุมชนต้นแบบลดปัญหาหมอกควันไฟป่า

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

นายอำเภอสันทราย เปิดโครงการ “แม่แฝกใหม่โมเดล” ที่ศูนย์​จาระธรรม พร้อมมอบป้ายแม่แฝกใหม่โมเดล และใบอนุญาติเก็บหาของป่า นำร่องชุมชนต้นแบบลดปัญหาหมอกควันไฟป่า สร้างรายได้จากใบไม้

วันที่ 9 เม.ย.64 เวลา 10.00 ​น. ที่ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าจาระธรรม นายศิวะ ธมิกานนท์ นายอำเภอสันทราย เป็นประธานเปิดศูนย์​ ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า สารธรรมหมู่ที่ 6 ต.แม่แฝกใหม่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ พร้อมมอบป้ายแม่แฝกใหม่โมเดล และใบอนุญาติเก็บหาของป่า โดยมี นายอำพล สุวรรณ์ ผู้​แทนทีมเสมอภาค จ.เชียงใหม่ ตัวแทนนางรฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ กล่าววัตถุประสงค์​ของการจัดทำโครงการแม่แฝกใหม่โมเดล

พร้อมด้วยนายกิตติพง์ คุณนา กำนันตำบลแม่แฝกใหม่ประธานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าจาระธรรม,ดร.สุมิตร อธิพรหม รอง ผอ.ฝ่ายประสานงานและกิจกรรมพิเศษศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม​เห็ดป่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้, นายกิตติพงษ์ พิทักษ์ นันตี ผญบ.บ้านแพะเจดีย์, นางเพ็ญทิพา รู้​รอบ ประธาน​สตรีแม่บ้าน ต.แม่แฝกใหม่, ฝ่ายปกครองอำเภอ, ผู้ใหญ่บ้าน, ประชาชน, หน่วยบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลตำบลแม่แฝกใหม่, ส่วนราชการ, อาสาสมัครในตำบลแม่แฝกใหม่ เข้าร่วมพิธิเปิดโครงการในครั้งนี้

ตามที่นางรฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและประธานมูลนิธิพัฒนาเยาวชนเยาวสตรีภาคเหนือ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เดินทางไปให้กำลังใจแก่ญาติพ่อหลวงนิพนธ์ จาระธรรม ตลอดจนชุมชนตำบลแม่แฝกใหม่ จากการที่พ่อหลวงนิพนธ์​ จาระธรรม ได้ออกไปลาดตระเวนและเข้าดับไฟป่าจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตทำให้ครอบครัวขาดเสาหลัก สร้างความโศกเศร้าเสียใจแก่ชุมชนเป็นอย่างมาก บริเวณป่าสงวนแห่งชาติเขตรอยต่อหมู่บ้านแม่แฝกใหม่

ซึ่งหมู่บ้านแม่แฝกใหม่เป็นเขตป่าไม้ผลัดใบ (ทิ้งใบ)​ตามฤดูกาลทำให้เกิดการทับถมของใบไม้เป็นจำนวนมากก่อให้เกิดไฟป่าในทุกๆปี ปีละหลายๆครั้ง สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนพืชสวนพืชไร่ของชาวบ้านผิดจำนวนมากและก่อเกิดมลพิษทางอากาศ นางรฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ จึงมีแนวสร้างโครงการแม่แฝกใหม่โมเดล ที่ศูนย์​จาระธรรมแห่งนี้เพื่อนำร่องเป็นชุมชนต้นแบบใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

โครงการแม่แฝกใหม่โมเดล ประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน, ประชาชน, หน่วยบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลตำบลแม่แฝกใหม่, ส่วนราชการ, อาสาสมัครในตำบลแม่แฝกใหม่, และทีมเสมอภาคได้ริเริ่ม “โครงการแม่แฝกใหม่โมเดล” เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน ลดฝุ่นควันpm 2.5 รักษาป่าไม้ รักษาป่าต้นน้ำปิง วัง ยม น่าน ป้องกันไฟป่า แปรรูปใบไม้ ส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ รักษาสุขภาพ เพื่อนำร่อง แล้วขยายโครงการไปสู่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และภาคอื่นที่ มีปัญหาไฟป่าและเผาซังข้าว ใบข้าวโพด

จึงได้ประสานความร่วมมือจากมูนิธิพัฒนาเยาวสตรีภาคเหนือในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ให้มาส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กสตรีและผู้สูงอายุเรื่องการอนุรักษ์ทุรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้ประสานขอรับการสนับสนุนนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เข้ามาช่วยเหลือในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ นอกจากนี้ยังจะประสานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ และภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศเป็นลำดับต่อไป

โดยโครงการที่จะดำเนินการมีดังนี้คือ แปรรูปใบไม้ในป่าเป็นภาชนะ, ทำปุ๋ยหมักใบไม้, เพาะเห็ดป่า, ปลูกสมุนไพรในป่า, ปลูกผักหวานในชุมชน, แปรรูปใบไม้กิ่งไม้เป็นแท่งเชื้อเพลิง, ผันน้ำเข้าป่าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ฯลฯ ซึ่งมีแผนการดำเนินงาน วันที่ 30 มีนาคม 64 ประชุมหารือวางแผนดำเนินโครงการกับผู้นำท้องที่และกลุ่มสตรีตำบลแม่แฝกใหม่, วันที่ 31 มีนาคม 64 ตัวแทนมูลนิธิพัฒนาเยาวสตรีภาคเหนือ ตัวแทนแม่แฝกใหม่โมเดล ประชุมหารือวางแผนดำเนินโครงการร่วมกับนักวิชาการมหาวิทยาลัยไม่โจ้ วันที่ 6 เมษายน 64 ติดตั้งอุปกรณ์แปรรูปใบไม้เป็นภาชนะที่ศูนย์ๆจาระธรรม, วันที่ 7 – 8 เมษายน 64 ฝึกการแปรรูปภาชนะ การทำปุ๋ยหมัก และการเพาะเห็นป่า ให้แก่กลุ่มสตรี และวันนี้ 9 เมษายน 64 เปิด โครงการ พร้อมสาธิตการแปรรูปภาชนะจากใบไม้

นางรฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ ได้มอบเครื่องผลิตของใช้ด้วยใบไม้ จำนวน 2 เครื่องให้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านฯ พร้อมให้คำแนะนำการลดปัญหาหมอกควันและไฟป่าโดยการเก็บใบไม้ที่ผลัดใบตามฤดูกาลนำไปใช้ให้เกิดรายได้ให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านตำบลแม่แฝกใหม่สร้างอาชีพสร้างรายได้เสริมในขณะด้วยการเป็นการลดเชื้อเพลิงใฟป่าอีกทางหนึ่งด้วย

โดยเครื่องอัดภาชนะถ้วยชามจากใบไม้และวัสดุธรรมชาติ ถือเป็นการรณรงค์การลดใช้โฟมและยังสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนชุมชนได้อย่างยั่งยืน ขณะนี้ตนพยายามขยายผลไปยัง 8 จังหวัดภาคเหนือที่เป็นแหล่งเกิดไฟป่า โดยมุ่งหวังว่าหากใบไม้และวัสดุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน และพวกเขาจะหันมาอนุรักษ์เพื่อไม่ให้เกิดไฟป่าได้ในที่สุด ซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องไฟป่าที่ยั่งยืน ไม่ใช่เพียงแค่การตั้งรับเพื่อแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุโดย ทางทีมเสมอภาค ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกันพลักดันเพื่อให้ โครงการแม่แฝกใหม่โมเดล เป็นต้นแบบนำร่องเพื่อขยายไปสู่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง