สภาเอสเอ็มอีเข้าพบรองนายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและยกระดับศักยภาพ SMEs
สภาเอสเอ็มอีเข้าพบรองนายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและยกระดับศักยภาพ SMEs

สภาเอสเอ็มอีเข้าพบรองนายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและยกระดับศักยภาพ SMEs

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

สภาเอสเอ็มอีเข้าพบรองนายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและยกระดับศักยภาพ SMEs สภาเอสเอ็มอีเข้าพบรองนายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและยกระดับศักยภาพ SMEs

สภาเอสเอ็มอีเข้าพบรองนายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและยกระดับศักยภาพ SMEs

10 ตุลาคม 2567 นายสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) พร้อมด้วย นายชนพงษ์ รุ่งกิจวัฒนกุล รองประธานอาวุโส นางสาวรมนต์อร บุญเรือง เลขาธิการ และคณะกรรมการบริหาร เข้าพบนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มาหารือในการประชุมครั้งนี้ ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล

นายสุปรีย์ นำเสนอว่า “ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในปัจจุบัน เกิดจากการนิยามและการจำแนกประเภทของ SMEs ที่ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ส่งผลให้ความช่วยเหลือที่ภาครัฐส่งลงมาช่วย SMEs ไปไม่ถึง SMEs ดังนั้น จึงเสนอให้มีการยกร่างกฎหมายให้เกิดการรวมตัวของผู้ประกอบการ SMEs ในรูปแบบ พระราชบัญญัติสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ที่เป็นกฎหมายใหม่ซึ่งสภาเอสเอ็มอีได้เตรียมร่างเอาไว้แล้ว และกำลังมีกระบวนการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยการรับฟังความเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ภาคีเครือข่ายที่เป็นตัวแทนของคลัสเตอร์ธุรกิจต่าง ๆ  ตัวทนจังหวัด นักวิชาการ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง”

นอกจากนี้ สภาเอสเอ็มอีปรับโครงสร้างการบริหารโดยเพิ่มด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ เข้ามาเพื่อส่งเสริมและยกระดับความสามารถของ SMEs ด้านดิจิทัลทั้งระบบนิเวศ (Digital Ecosystem) ให้สอดรับกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ซึ่งการค้าบนโลกออนไลน์นั้น การสร้างอัตลักษณ์หรือแบรนดิ้ง (Branding) ให้กับสินค้านั้นมีความจำเป็นอย่างมาก มิฉะนั้นก็จะถูกลอกเลียนแบบและแทนที่ได้โดยง่าย ส่งผลให้ SMEs ไม่สามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน

จากสถานการณ์ภัยคุกคามจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามชาติในปัจจบัน สภาเอสเอ็มอีเสนอว่าไทยควรจะมีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของประเทศ (National Platform) โดยนำ Thailand Post Mart กลับมาปรับปรุงและใช้งานให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น เนื่องจากมีจุดแข็งที่เครือข่ายของไปรษณีย์ไทยมีอยู่ในทุกอำเภอทั่วประเทศ มีเครือข่ายโลจิสติกส์ที่เข้มแข็งที่สุดในประเทศ พนักงานมีความชำนาญในพื้นที่ ฯลฯ ที่มีความได้เปรียบกว่าแพลตฟอร์มข้ามชาติ สภาเอสเอ็มอีและสมคมสายเทคโนโลยีพร้อมเข้ามาช่วยในการพัฒนาได้

ดร.สุทัด ครองชนม์ รองประธานสภาเอสเอ็มอี และนายกสมาคมไทยไอโอที (Thai IoT) นำเสนอแนวทางการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (IoT) มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะภาคการผลิต ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยีมาลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงจากโรงงาน 2.0 เป็นโรงงาน 4.0 ได้ ด้วยงบประมาณที่ไม่สูงมาก จึงอยากเสนอให้ท่านพิจารณางบประมาณโครการดังกล่าวลงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายอนุสรณ์ ลัภนะก่อเกียรติ รองประธานอาวุโสสภาเอสเอ็มอี และประธานกรรมการบริหารสมาคมเทคโนโลยีิจิทัล ให้ข้อมูลว่า ในแต่ปีมีผู้ประกอบการในระบบจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 7-8 หมื่นราย ขณะที่มีการจดทะเบียนเลิกกิจการ 2 หมื่นราย สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจ SMEs นั้นขาดศักยภาพในการเติบโต สอดคล้องกับข้อมูลที่พบว่ามีผู้ประกอบการขนาดเล็ก (S) จำนวน 860,000 ราย ขณะที่มีผู้ประกอบการขนาดกลาง (M) เพียง 40,000 ราย หมายความว่า มี SMEs รายเล็กจำนวนน้อยมากที่สามารถเติบโตไปเป็นขนาดกลางได้ ทั้งนี้ ที่มาของรายได้จะประกอบไปด้วย B2G, B2B, และ B2C ซึ่งภาครัฐจะสามารถเข้ามาช่วย SMEs ได้ด้วยการให้แต้มต่อกับ SMEs จากช่องทาง B2G ผ่านโครงการ SME-GP

ในภาพรวมของผู้ประกอบการรายย่อย (Micro) ถึงรายเล็ก (Small) ประกอบไปด้วย

  • 1. Skill ให้องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็น Specialize ของแต่ละกิจการ
  • 2. Tool เครื่องมือในการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน
  • 3. Financial การเข้าถึงแหล่งเงินทุนภายใต้เงื่อนไขที่ผ่อนปรน

นายสุปรีย์ สรุปแนวทางการพัฒนายกระดับ SMEs ดังนี้

  • 1. ให้ความช่วยเหลือเป็นองค์รวมแบบ Supplier to Business to Customer (S2B2C) ที่ปะสบความสำเร็จในจีน โดยต้องมีความพร้อมและพัฒนาทั้งระบบนิเวศ (Ecosystem) ด้านอีคอมเมิร์ซ ไลฟ์คอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์
  • 2. จูงใจให้ธุรกิจนอกระบบกว่า 2 ล้านกิจการ ให้เข้ามาอยู่ในระบบ (ปัจจุบันในระบบมีอยู่ประมาณ 1 ล้านราย)

ท่านรองนายกรัฐมนตรี ให้ข้อมูลว่า “ปัจจุบันกำลังอยู่ในกระบวนการยกร่างกฎหมายไปรษณีย์ไทยที่มีมาแล้วเกือบ 100 ปี ทังนี้ เห็นด้วยกับแนวทางการนำแพลตฟอร์มของไปรษณีย์มาปรับปรุงและนำเอาสินค้า SMEs มาเสริมในแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ให้นโยบายกับ สสว. ไว้เรื่องการปรับเปลี่ยน SMEs จากอุตสาหกรรมโลกเก่าไปเป็นอุตสาหกรรมโลกใหม่ การปิดช่องว่างของซัพพลายเชน และการนำเอา Soft Power มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ท่านรองนายกได้กล่าวสรุปการหารือครั้งนี้ คือ 1) นำเรื่องที่หารือกันใวันนี้เข้าที่ประชุมบอร์ด สสว. โดยเชิญผู้บริหารไปรษณีย์ไทยและสภาเอสเอ็มอีเข้าร่วมรับฟังด้วย 2) จัดกิจกรรม Workshop โดยแบ่งวงย่อยประมาณ 3-4 กลุ่ม เพื่อหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละหัวข้อ อาทิ ภัยคุกคามจากต่างชาติ, ปัญหาและอุปสรรค, กฎหมาย SMEs และ ระบบนิเวศ (Ecosystem)”

สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) เกิดจากการรวมตัวของสมาคม มูลนิธิ ชมรม คลัสเตอร์ต่างๆ ล้วนมีสมาชิกเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนให้กับอุตสาหกรรมใหญ่ในรูปแบบซัพพลายเชนที่ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นผู้แทนของ SMEs ในการสะท้อนปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีจำนวนรวมกันกว่า 990,000 ราย มีการจ้างแรงงานในระบบประกันสังคมกว่า 13 ล้านคน รวมทั้งเสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันผลักดันพระราชบัญญัติสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไย พ.ร.บ. สภาเอสเอ็มอี

#สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย #สภาเอสเอ็มอี #ThaiSMEsCouncil #SMEs #เอสเอ็มอี

บทความที่เกี่ยวข้อง