สภาเอสเอ็มอี เสนอ รองนายก ผลักดัน SMEs ไทย เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และกำหนดมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบให้มากที่สุด

สภาเอสเอ็มอี เสนอ รองนายก ผลักดัน SMEs ไทย เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และกำหนดมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบให้มากที่สุด

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

สภาเอสเอ็มอี เสนอ รองนายก ผลักดัน SMEs ไทย เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และกำหนดมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบให้มากที่สุด

12 มิถุนายน 2567 นายสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) พร้อมด้วย นายอนุสรณ์ ลัภนะก่อเกียรติ รองประธานอาวุโส และประธานกรรมการบริหาร สมาคมเทคโนโลยีดิจิทัล นายสรโชติ อำพันวงษ์ รองประธาน และนายกสมาคมทีวีโฮมช้อปปิ้ง (ประเทศไทย) ดร.สุทัด ครองชนม์ รองประธาน และนายกสมาคมไทยไอโอที นางสุชาดา เจริญพิภพ รองประธาน และอุปนายกสมาคมส่งเสริมการค้าอาเซียน นายเกษม วชิระเจริญวงศ์ เลขาธิการ และกรรมการบริหารสมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย นางสาว รมนต์อร บุญเรือง รองประธานและรองเลขาธิการ และนางสาวสาธวีรัตน์ แก้วภัทรนันท์ รองประธาน เข้าพบ ท่านภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และนายสถาพร ร่วมนาพะยา รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ ห้องประชุม 302 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล

สภาเอสเอ็มอีแนะนำโครงสร้างการบริหารของสภาเอสเอ็มอีที่นอกจากจะมีการแบ่งประเภทของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นกลุ่มคลัสเตอร์ธุรกิจแล้ว ยังมีการเพิ่มเติมด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligence Economy) ที่สอดคล้องเศรษฐกิจสมัยใหม่

ด้านการตลาดซึ่งเป็นหนึ่งใน Pain Point ของ SMEs ได้มีการส่งเสริมการตลาดสมัยใหม่ด้วย Digital Commerce ที่มี KOL หรือ Influencer เป็นผู้ขับเคลื่อนด้านการขายสินค้า ได้มีความร่วมมือกับ KOL ของจีนและเกาหลี โดยใช้กลยุทธ์ทำความร่วมมือกับจีนและ Live ไปด้วยกัน อีกทั้งยังมี MOU กับ Alibaba ในการสรรหาและคัดเลือกสินค้าไปให้ KOL ฝั่งจีนเลือกไป Live ขายสินค้า ซึ่งจัดไปแล้ว 2 ครั้ง และกำลังจะจัดเป็นครั้งที่ 3 ในงาน “สหกรุ๊ปแฟร์” ในวันที่ 28 มิถุนายน 2567 นี้ เวลา 13.00-16.00 น. ณ BITEC บางนา

ทั้งนี้ ปัญหาหนึ่งของการนำสินค้าขึ้นขายออนไลน์ คือ จะมีคู่แข่งที่สามารถทำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาเป็นทางเลือกและทดแทนได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น การทำให้ Branding ของสินค้าไทยมีความเข้มแข็งจึงเป็นอีกหนึ่งความจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการ รวมทั้งทักษะทางด้านเทคโนโลยี (Digital Literacy) และการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับค่าจ้าง

มีการนำร่องในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ SMEs เพื่อการลดต้นทุน หรือเพิ่มผลกำไร ไม่ว่าจะเป็น Internet of Things และ Demand Forecast AI

นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการขายในประเทศผ่านเครือข่ายประธานจังหวัด และการเชื่อมโยงการค้าชายแดน โดยมีการนำร่องไปแล้วที่ด่านผ่านแดนช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ และอยากจะร่วมมือกับภาครัฐในการขยายผลไปยังด่านผ่านแดนอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป รวมทั้งการส่งออก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับศักยภาพของ SMEs แต่ละราย

ในการนี้ อยากให้ทางภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Pain Point ในการดำเนินธุรกิจ SMEs และกำหนดมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าระบบเข้าสู่ระบบให้มากที่สุดและเป็น Formal Ecoomy นอกจากนี้ การกำหนดนิยาม SMEs ของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นภาครัฐมีความไม่สอดคล้องกันและยากต่อการปฏิบัติการ รวมทั้งไม่ได้่ถูกกำหนดลงใน พ.ร.บ.ส่งเสริม SMEs (สสว.) จึงมีข้อสงสัยว่าเมื่อไม่กำหนดนิยาม SMEs ไว้ใน พ.ร.บ. จะใช้เกณฑ์ใดในการให้การส่งเสริม SMEs

ท่านภุมิธรรม แจ้งให้ทราบว่า สิ่งที่ทางสภาเอสเอ็มอีนำเสนอมา กระทรวงพาณิชย์และรัฐบาลได้ดำเนินการอยู่แล้ว หากสภาเอสเอ็มอีสนใจร่วมในงานใดสามารถประสานกับทางกรมต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์ได้เลย หรือหากมีโครงการใหม่ที่จะสนับสนุนกันได้ก็ให้เข้ามาหารือกัน ส่วนเรื่องนิยามของ SMEs ครม.ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาทบทวนถึงความสอดคล้องกันของแต่ละหน่วยงาน

นายสุปรีย์ แจ้งว่า สภาเอสเอ็มอีได้เคยนำเสนอร่างพระราชบัญญัติสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ไปเมื่อสมัยรัฐบาลที่แล้วโดยการนำเสนอของพรรคเพื่อไทย จึงมีข้อมูลนิยามของ SMEs ที่น่าจะเหมาะสม จึงขอนำส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ผู้แทนฝั่งกระทรวงพาณิชย์) นำไปใช้ประกอบการพิจารณาต่อไป

ในการนี้ สภาเอสเอ็มอีได้มอบกระเช้าสินค้า SMEs ให้กับท่านรองนายกรัฐมาตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นที่ระลึก

#สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย #สภาเอสเอ็มอี #ThaiSMEsCouncil #SMEs #เอสเอ็มอี #ภูมิธรรมเวชยชัย #รองนายกรัฐมนตรี #รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ #ทำเนียบรัฐบาล #กระทรวงพาณิชย์ #กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ #กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #MOC #DITP #DBD

สภาเอสเอ็มอี เสนอ รองนายก ผลักดัน SMEs ไทย เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และกำหนดมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบให้มากที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง